การพัฒนาการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง เซต สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์

09/07/2020 เข้าชมแล้ว : 5433

pornpimon 

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง เซต สำหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์

ผู้ศึกษา            นางพรพิมล  พาณิชย์   ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา      โรงเรียนเมืองสมเด็จ  อำเภอสมเด็จ  จังหวัดกาฬสินธุ์ 

ปีที่ศึกษา         พ.ศ. 2562

 

            รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ  ดัชนีประสิทธิผล  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ศึกษาพัฒนาการหลังการเรียนรู้รายบุคคลและกระบวนการกลุ่ม และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนเมืองสมเด็จ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 39 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 18 แผน เวลาเรียน 18 ชั่วโมง (ไม่รวมแผนปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศ) (2) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน
6 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน จำนวน 30 ข้อ  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบค่า t (Dependent samples) 
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้

  1. การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เซต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.30/84.87 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
  2. การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เซต มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 75.11 ตรงตามเกณฑ์ 70 หรืออยู่ในระดับดี แสดงว่า
    นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 75.11
  3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต มีพัฒนาการเรียนรู้รายบุคคลอยู่ในระดับดี  และพัฒนาการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม อยู่ในระดับดีเด่น
  5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้
    แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต  โดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ
    มากที่สุด  รายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบทบาทนักเรียน ด้านการวัดและประเมินผล  ด้านบทบาทครูผู้สอน  และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน